วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลหนองปรง

1.การกลึงไม้ตาล ตำบลหนองปรง มีต้นตาลมากเช่นเดียวกับตำบลอื่นในจังหวัดเพชรบุรี การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ตาลจึงเป็นอุตสาหรรมในครัวเรือนอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจและอนุรักษ์ไว้
2.การจักสานเข่งหลัว ชาวไทยทรงดำ มีอาชีพหลักอย่างหนึ่ง คือจักสานภาชนะเครื่องใช้ต่างด้วยไม้ไผ่ หวาย เช่น หลัว กระบุง ตะกร้า ฯลฯ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
3.การตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง ชาวไทยทรงดำส่วนใหญ่แต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง ซึ่งทอ ย้อม และตัดเย็บเอง เป็นหัตถกรรมในครัวเรือน ทำไว้ใช้ในครอบครัว เสื้อสตรีที่สวมใส่ โดยปกติจะเป็นลักษณะเสื้อผ้าสีดำ(ย้อมด้วยต้นคราม) คอตั้งเข้ารูป ผ่าหน้า ใช้กระดุมเงินประมาณ 10 เม็ด เรียกว่า "เสื้อก้อม"
4.การประดิษฐ์บายศรี การประดิษฐ์บายศรีจากวัสดุในท้องถิ่น ได้แก่ ใบตอง ดอกดาวเรือง ดอกพุด ดอกรัก ฝึกการประดิษฐ์บายศรีในรูปแบบลักษณะต่างๆเพื่อใช้ในงานพิธี งานมงคลโฮกาสต่างๆ
5.ดนตรีพื้นบ้าน "แคน" แคนเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านซึ่งชาวไทยทรงดำนิยมใช้เป่าเป็นเพลงประกอบการฟ้อนรำพื้นบ้าน"รำแคน" ปัจจุบันมีผู้เป่าได้เป็นจำนวนน้อยมาก
6.นาฏศิลป์พื้นบ้าน "รำแคน" การฟ้อนรำของชาวไทยทรงดำเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา ถือเป็นเอกลักษณ์อย่งหนึ่งที่ควรอนุรักษ์ ลักษณะการฟ้อนรำใช้จังหวะช้าเร็ว 3 จังหวะ ประกอบกับเครื่องดนตรีพื้นบ้าน คือแคนวง มีการขับร้องและตบมือให้จังหวะ ใช้ในการละเล่นในงานเทศกาลต่างๆ
อาจารย์นงลักษณ ์มาลี นางบุญเรือน คุ้มปอง นางจันทร์ เศรษฐ์ชุ่ม
7.พืชสมุนไพร แต่เดิมชาวไทยส่วนมากชอบรักษาโรคภัยไข้เจ็บของตนเองและคนใกล้เคียงด้วยวิธีรักษาแบบพื้นบ้านจากพืชสมุนไพร ลองผิดลองถูกตามแต่ประสบการณ์ของตน จนกระทั่งเรามารับระบบการแพทย์ตะวันตก ประชาชนหันมาสนใจวิธีการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น แต่ตัวยาจากหมอแผนโบราณ ก็มิได้หมดไปจะเห็นได้ว่าร้านขายยาไทย ก็ยังมีขายอยู่ทั่วไปในตัวเมือง ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ยอมรับว่าการแพทย์แบบตะวันตกอย่างเดียว ไม่สามารถครอบคลุมการให้บริการแก่ประชาชน จึงได้สนับสนุนนโยบายการผสมผสาน ระหว่างการแพทย์พื้นบ้านกับการแพทย์ตะวันตกขึ้น ด้วยการเสนอรูปแบบการสาธารณสุขที่เรียกว่า สาธารณสุขมูลฐาน รวมทั้งชุมชนตำบลหนองปรง มีพืชสมุนไพร เป็นพืชพื้นบ้านมากมายหลายชนิดอยู่ในท้องถิ่นสามารถนำมาทำยาได้

ไม่มีความคิดเห็น: